รู้จักกับปิ้กอัพ EMG

รู้จักกับปิ้กอัพ EMG

Original Overlend EMG

​EMG ก่อตั้งขึ้นในปี 1974 โดยนาย Rob Turner เขาเริ่มต้นด้วยการใช้โรงรถของพ่อแม่เป็นโรงเวิร์กช็อพสำหรับสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และรับซ่อมแอมปลิฟายเออร์ทั่วไป Rob เริ่มสนใจการทำงานของปิ้กอัพและได้ลองเล่นปิ้กอัพมากมายในช่วงต้นปี 1969 แต่ยังไม่ได้ผลิตเป็นธุรกิจอย่างจริงจังจนกระทั่งอีกหลายปีต่อมา

รู้จักกับปิ้กอัพ EMG

Original Overlend EMG

ปี 1976 ช่วงแรกที่เริ่มต้นธุรกิจใหม่ Rob ได้จดทะเบียนบริษัทของเขาในนาม Dirtywork Studio จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น Overlend ในปี 1978 (Overlend แปลว่า การกู้ยืมเกินวงเงิน) เนื่องจากเขาขอขยายวงเงินเครดิตมาถึงขั้นเต็มอัตราและคิดว่า Overlend น่าจะเป็นชื่อที่เหมาะสม

รู้จักกับปิ้กอัพ EMG

ปี 1983 Overlend เปลี่ยนมาเป็นบริษัท EMG ซึ่งเป็นยุคที่บริษัทประสบความสำเร็จอย่างสูง หลังจากนั้น Rob ก็ไม่เคยหันกลับไปมองอดีตอีกเลย หลายคนอาจสงสัยว่าชื่อ EMG มาจากไหน? คำตอบคือ EMG ย่อมาจากคำว่า E lectro-Magnetic Generator

รู้จักกับปิ้กอัพ EMG
คอนเซปป์สำคัญของปิ้กอัพ EMG

1. พื้นที่การรับสัญญาณจากสาย 
หลักเกณฑ์ในการออกแบบปิ้กอัพ EMG นั้นความจริงมีอยู่หลายองค์ประกอบ แต่ที่สำคัญมาอันดับหนึ่งเลยก็คือเรื่องของ "พื้นที่ในการรับสัญญาณจากสาย" หรือ String Interface ถ้าคุณสังเกตที่ปิ้กอัพให้ดีจะเห็นว่าปิ้กอัพ EMG ส่วนใหญ่จะไม่มี "โพล พีส" (Pole Piece) หรือขั้วแม่เหล็กให้เห็น (จะยกเว้นก็แต่บางรุ่นที่ต้องการให้หน้าตาย้อนยุคเหมือนพวกปิ้กอัพ Fender แบบวินเทจโบราณ)

EMG จึงหันมาใช้แม่เหล็กทั้งแท่ง (Bar Magnet) แทนที่จะใช้เป็นแม่เหล็กชิ้นเล็กๆ  วางเรียงกัน 6 ชิ้นเหมือนเมื่อก่อนก็เพราะด้วยเหตุผลสองประการ คือ ข้อแรก ปิ้กอัพแบบมีโพลพีสจะส่งแรงดึงดูดของแม่เหล็กออกมากระทำต่อสายมากกว่า จึงเป็นเหตุให้สายกีตาร์ที่อยู่ใกล้ขั้วแม่เหล็กมากกว่าอย่างพวกสายใหญ่ๆอย่างสาย E ต่ำ, A และ D จึงมักจะเสียงผิดเพี้ยนมากกว่าเพื่อน และข้อสองคือขั้วแม่เหล็กมีผลทำให้การตั้งอินโทเนชั่นและการตั้งสายกีตาร์เป็นไปได้ยากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่าปิ้กอัพแบบโพลพีสจะไม่ดีไปเสียทั้งหมด ข้อดีของโพลพีสก็คือช่วยในเรื่องของ "น้ำเสียง" การดีดสายที่ออกมาคมชัด มีน้ำหนัก และมีความเป็น "เพอร์คัสสีฟ" นั่นเอง
การออกแบบ EMG ให้เป็นแม่เหล็กทั้งแท่งนั้นช่วยให้เอาต์พุตของแต่ละสายออกมามีความบาลานซ์เท่ากัน และยังช่วยให้เสียงแตกมีความนุ่มนวลขึ้น ซัสเทนยาวขึ้น และที่สำคัญคือการดันสายจะมีความไพเราะละมุนละไมขึ้น หางเสียงจะจางหายไป เนื่องจากว่าเสียงของสายจะถูกส่งผ่านเข้าที่ปิ้กอัพได้ในทุกตำแหน่งนั่นเอง ซึ่งจะต่างกับปิ้กอัพที่มีโพลพีสที่จะมีช่องว่างเว้นไว้สำหรับแต่ละขั้ว และเมื่อเราดันสายออกนอกอาณาเขตของขั้วแม่เหล็ก เสียงก็จะจางหายไป การที่แท่งแม่เหล็กส่งสนามแม่เหล็กออกมาเท่ากัน ทั่วทั้งแท่งและการไม่มีโพลพีสเช่นนี้ ทำให้ EMG เป็นปิ้กอัพที่เหมาะกับเครื่องดนตรีมีสายหลายชนิดโดยไม่เกี่ยงระยะความห่างของสายเลย และการที่ปิ้กอัพ EMG มีการติดตั้งระบบปิ้กอัพภายในจึงทำให้ปิ้กอัพมีสัญญาณที่แรงโดยไม่ต้องใช้แม่เหล็กที่ขนาดใหญ่โตมโหฬารมาก เมื่อแม่เหล็กมีขนาดเล็ก แรงดูดก็น้อยลงตามไปด้วย ทีนี้ก็หมดปัญหาเรื่องแม่เหล็กดูดสาย (string pull) ไปโดยปริยายรู้จักกับปิ้กอัพ EMG
Pickup Pole Pieceรู้จักกับปิ้กอัพ EMG
Pickup Bar magnet

2. แม่เหล็ก
ในปิ้กอัพ EMG มีการใช้แม่เหล็กหลายแบบซึ่งจะแต่งต่างกันไปทั้งรูปร่างและชนิด ซึ่งคุณสมบัติที่มีต่อเสียงก็จะแตกต่างกันออกไป ตามแต่คาแรกเตอร์ของตัวเอง เช่น แม่เหล็ก Ceramic อาจจะไม่ค่อยส่งผลต่อการเหนี่ยวนำของขดลวดเท่าไรแต่ก็เป็นแม่เหล็กที่ให้สนามแม่เหล็กแรง ส่วนแม่เหล็ก Alnico จะค่อนข้างให้อำนาจแม่เหล็กน้อยกว่าแต่จะมีปฏิกิริยาเหนี่ยวนำกับขดลวดมาก อะไรอย่างนี้เป็นต้น และยิ่งเมื่อมีการเสริมด้วยการใช้ขั้วเหล็ก Steel pole (ซึ่งอาจจะเป็นในรูปของแท่งเหล็กหรือสกรู) ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มการเหนี่ยวนำของปิ้กอัพได้ ซึ่งก็จะมีผลต่อซาวด์ด้วยเช่นกันรู้จักกับปิ้กอัพ EMG
EMG Magnet

3. คอยล์ขดลวด
ปิ้กอัพ EMG มีการใช้ขดลวดที่ออกแบบมาหลากหลายลักษณะแตกต่างกัน ซึ่งเทคนิคการพันขดลวดและการออกแบบรูปร่างที่แตกต่างกัน ล้วนส่งผลต่อน้ำเสียงที่ออกมาทั้งสิ้น สำหรับ EMG มีทั้งปิ้กอัพที่เป็นฮัมบักกิ้งและซิงเกิลคอยล์ สำหรับฮัมบักกิ้งนั้นไม่มีปัญหาเรื่องเสียงจี่เสียงฮัมอยู่แล้ว แต่กับซิงเกิลคอยล์ที่ใครคิดว่าเรื่องจี่เรื่องฮัมเป็นเรื่องธรรมชาติแล้วล่ะก็คิดใหม่ได้ เพราะระบบปรีแอมป์ภายใจจะเป็นตัวทำหน้าที่กำจัดเสียงจี่ เสียงฮัมอันไม่พึงประสงค์ทั้งหลายแหล่ให้หมดไปรู้จักกับปิ้กอัพ EMG
4. ปรีแอมป์ภายใน
อันว่าระบบปรีแอมป์ภายในหรือ " อินเทอร์นัล ปรีแอมป์" (Internal Preamp) ของ EMG นี้ต้องบอกว่าไม่ใช่ปรีแอมป์ธรรมดา เพราะมันคือปรีแอมป์ที่ถูกสร้างขึ้นไว้ภายในปิ้กอัพทุกตัว เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของปิ้กอัพเลยทีเดียว มันถูกออกแบบมาเพื่อปรับปรุงคุณภาพซาวด์ที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น และสามารถลดเสียงนอยส์รบกวนได้อย่างที่คุณต้องประหลาดใจ และที่สำคัญคือผลพลอยได้ที่ได้รับจากปรีแอมป์นี้ก็คือเรื่องของ "Gain" หรือ "ความแรง" ของปิ้กอัพ ซึ่งจุดนี้ได้ช่วยให้การออกแบบปิ้กอัพสามารถมุ่งเน้นที่เรื่องของน้ำเสียงเป็นสำคัญ โดยไม่ต้องกังวลถึงเรื่องของเอาต์พุต เพราะมีปรีแอมป์เป็นตัวจัดการให้อยู่แล้วรู้จักกับปิ้กอัพ EMG
EMG B30r3 Bass Preamp
รู้จักกับปิ้กอัพ EMG
EMG PA2 Preamp Booster Switch

5. โทนโมเดลลิ่ง ( Tone Modelling) 
ในการสร้างลักษณะโทนเสียงของปิ้กอัพจุดหลักจะอยู่ที่การคำนวณค่าความถี่ Resonant Frequency ซึ่ง EMG ได้ใช้หลักการที่เรียกว่า "อิมพีแดนซ์ โมเดลลิ่ง" ในการถ่ายทอดน้ำเสียงจากคอยล์ทั้งสองอัน และด้วยวิทยาการดังกล่าวช่วยให้เราสามารถออกแบบ การผสมผสานลักษณะการก้องสะท้อนของเสียงจากขดลวดทั้งสองได้อย่างแม่นยำ เป้าหมายคือการนำโครงสร้างที่ซับซ้อนของเฟสจากขดลวดแต่ละอันและความถี่ตอบสนองมาผสมผสานเข้าด้วยกัน นั่นหมายถึงน้ำเสียงก้องกังวานอย่างเป็นธรรมชาติมีชีวิตชีวา และให้เสียงฮาร์โมนิกมากกว่าปิ้กอัพแบบแพสสีฟรุ่นเก่าๆ ซึ่งปิ้กอัพแต่ละรุ่นของ EMG จะมีการคำนวณการออกแบบที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับคุณลักษณะน้ำเสียงที่ปิ้กอัพรุ่นนั้นๆควรจะเป็นรู้จักกับปิ้กอัพ EMG
6. ระบบลดเสียงรบกวน
ประโยชน์อีกข้อของปรีแอมป์ภายในก็คือ "ระบบลดเสียงรบกวน" หรือนอยส์รีดักชั่น (noise reduction) นั่นเอง หลังจากที่ประกอบปรีแอมป์เรียบร้อย ส่วนประกอบปิ้กอัพทุกชิ้นจะได้รับการ "ชีลด์" ( Shielded) จากนั้นเสียงรบกวนเสียงจี่เสียงฮัมจะถูกกำจัดออกไป และเมื่อปิดด้วยฝาครอบปิ้กอัพก็จะเป็นการช่วยกำจัดเสียงที่จะเข้ามารบกวนได้ด้วยอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ส่วนประกอบภายในยังได้รับการผนึกด้วยระบบสุญญากาศและห่อหุ้มด้วยอิพ็อกซี่อย่างแน่นหนา เพื่อเป็นการป้องกันเสียงไมโครโฟนฟีดแบ็ครบกวน ( microphonic feedback) และเพื่อยืดอายุให้ปิ้กอัพใช้งานได้ยาวนานขึ้นรู้จักกับปิ้กอัพ EMG
7. เอาต์พุตที่มีค่าอิมพีแดนซ์ต่ำ
การที่ระบบปรีแอมป์ภายในของปิ้กอัพ EMG มีค่าอิมพีแดนซ์หรือความต้านทานที่ต่ำนี้ช่วยให้เกิดผลดีคือช่วยลดการดร็อปของสัญญาณ คุณสามารถเดินสายแจ็คยาวเป็นร้อยฟุตหรือ 30 เมตรใช้กับกีตาร์ได้โดยไม่สูญเสียการตอบสนองย่านความถี่สูง หรือถ้าคุณจะใช้เป็นระบบไร้สายหรือไวร์เลส คุณก็จะยังคงได้เสียงกีตาร์ที่ไม่ต่างจากการใช้สายแจ็ค นอกจากนี้การเปลี่ยนความดังของกีตาร์ที่ปุ่มปรับ Volume ให้น้ำเสียงที่สม่ำเสมอ ไม่เพียงแต่จะเสียบตรงเข้าที่แอมป์เท่านั้น แต่คุณยังสามารถต่อตรงเข้ากับระบบปรีแอมป์ในการบันทึกเสียงได้อีกด้วย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบันทึกเสียงกีตาร์อะคูสติก) หรือต่อตรงเข้าที่แป้นมิกเซอร์ก็ตาม คุณสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้ DI หรือ Direct Box เลย หรือจะพ่วงกีตาร์ของคุณเข้ากับเครื่องเล่นคาสเส็ตเทปหรือชุดเครื่องเสียงโดยผ่านช่อง Aux ได้อย่างสบายไร้ปัญหารู้จักกับปิ้กอัพ EMG
8. ไฟเลี้ยงปิ้กอัพ
เครื่องดนตรีทุกชนิดที่ได้รับการติดตั้งปิ้กอัพ EMG จำเป็นจะต้องใช้ไฟเลี้ยงเสริมจากถ่านแบตฯ 9 โวลต์ก้อนสี่เหลี่ยมร่วมด้วย และเมื่อคุณติดตั้งปิ้กอัพ EMG 2 ตัว คุณก็จะใช้กระแสแค่ 160 ไมโครแอมป์ (หนึ่งในล้านของแอมป์แปร์) เท่านั้น สมมุติว่าคุณเล่นกีตาร์นาน 8 ชั่วโมงต่อวัน กระแสไฟจะถูกใช้ไปเพียงเศษเสี้ยวเท่านั้นซึ่งถ่านก้อนหนึ่งอยู่ได้นานเป็นปีเลยทีเดียว และกระแสไฟที่เลี้ยงปิ้กอัพจะถูกตัดเมื่อคุณปิดระบบมันด้วยการถอดสายแจ็คออกจากตัวกีตาร์ เพราะฉะนั้น เมื่อไม่ได้เล่น อย่าลืมถอดสายแจ็คออกจากเครื่องดนตรีของคุณด้วยเพื่อไม่ให้สูญเสียไฟจากถ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ !รู้จักกับปิ้กอัพ EMG
9. โครงสร้างและการผลิต 
ปิ้กอัพทุกรุ่นของ EMG มีเทคนิคการผลิตที่ไม่เหมือนใคร คอยล์ขดลวดจะได้รับการพันมาอย่างถูกต้องแม่นยำจากนั้น จึงนำมาผนึกด้วยระบบสุญญากาศ ระบบปรีแอมป์ภายในได้รับการติดตั้งด้วยเทคโนโลยี Surface Mount Technology (SMT) เพื่อคุณภาพและการใช้งาน และปิ้กอัพทุกตัวจะได้รับการทดสอบคุณภาพเสียง และการทำงานก่อนที่จะได้รับการบรรจุหีบห่อเพื่อส่งออกจำหน่ายต่อไปรู้จักกับปิ้กอัพ EMG
10. ติดตั้งง่าย
EMG ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้เล่นสามารถติดตั้งเองได้ โดยที่ไม่ต้องการๆ บักกรีใดๆ เลย วงจรไฟฟ้าสำหรับตัวคอนโทรล Volume และ Tone ได้รับการเดินสายไว้อย่างเรียบร้อยแล้วในชุด พร้อมขั้วต่อถ่านแบตฯ ช่องเอาต์พุตแจ็ค และไดอะแกรมสำหรับการต่อวงจร ที่คุณสามารถศึกษาเองได้อย่างไม่ยาก ปิ้กอัพ EMG ทุกรุ่นจะได้รับการออกแบบมาให้สามารถเปลี่ยนใส่เครื่องดนตรีมาตรฐานส่วนใหญ่ได้ แต่หากใครที่มีเครื่องดนตรีที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ ก็อาจจะต้องมีการปรับแต่งโพรงปิ้กอัพที่บอดี้ของเครื่องดนตรีบ้างเล็กน้อยรู้จักกับปิ้กอัพ EMG