มรดก "ร่วม" กีต้าร์ LES PAUL & SG

มรดก "ร่วม" กีต้าร์ LES PAUL & SG

ความคลาสสิคที่ไร้ขีดจำกัดของกาลเวลาของสองสิ่งก่อกำเนิดจากแรงผลักดันเดียวกัน จากในยุคเริ่มต้นเพื่อที่จะสร้างสรรค์พื้นฐานที่สำคัญของกีต้าร์ไฟฟ้าแบบลำตัวตัน  (Solid body) นั่นคือกีต้าร์ไฟฟ้า Gibson ทรงเลสพอล (Les Paul) และเอสจี (SG) แน่นอนว่ากีต้ารทั้ง 2 ทรงมีหลายๆ ส่วนประกอบที่เหมือนกัน แต่ว่าก็ยังคงมีส่วนประกอบบางส่วนที่มีความแตกต่างกัน ส่งผลให้ได้เครื่องดนตรี 2 ชนิดที่มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก คุณสามารถที่จะเล่นลูกเล่นหลายๆ อย่างที่เหมือนกันในกีต้าร์ทั้ง 2 ทรงนี้ แต่ว่าอย่าทึกทักเอาว่าสิ่งที่ได้ออกมาจะเหมือนกันทั้งในเรื่องของรูปลักษณ์ ความรู้สึกและเสียง ด้วยการอธิบายถึงส่วนประกอบสำคัญต่างๆ ของกีต้าร์แต่ละชนิด จะช่วยทำให้คุณเข้าใจได้ว่าทำไมและอย่างไรความแตกต่างเหล่านี้ถึงได้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมาก แต่ก่อนอื่น เรามาดูกันอย่างคร่าวๆ  ว่ากีต้าร์ที่มีรอยเว้าแบบเขาเดียวกลับกลายมาเป็นกีต้าร์ที่มีรอยเว้าแบบ 2 เขาได้อย่างไร

มรดก "ร่วม" กีต้าร์ LES PAUL & SG

การกำเนิดของ SG: สไตล์และวิวัฒนาการ
ถึงแม้จะเป็นความจริงที่ว่ากีต้าร์เลสพอลท้ายสุดแล้วจะกลายมาเป็นกีต้าร์ที่โด่งดังและเป็นที่เคารพรักมากที่สุดในกีต้าร์ต่างๆ ที่เคยผลิตมา กีต้าร์เลสพอลก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จก่อนปี ค.ศ. 1960 กีต้าร์ไฟฟ้าเลสพอลเริ่มมีความลงตัวขึ้นในปี 1958 เมื่อปิ๊กอัพฮัมบัคเกอร์รุ่นปี ’56 ได้ถูกบรรจุลงในกีต้าร์ร่วมกันกับสีซันเบิร์ท (Sunburst top) แต่ยอดขายก็ยังคงตกลงเรื่อยๆ จากการบันทึกของบริษัท Gibson ปรากฏว่าหลังจากจำหน่ายกีต้าร์สีทอง (goldtops) จำนวน 920 ตัวในปี ค.ศ. 1956 และจำนวน 598 ตัว ในปี ค.ศ. 1957 ทางบริษัท Gibson ได้จำหน่ายกีต้าร์เลสพอลสีซันเบิร์ทเพียง 434 ตัวในปี ค.ศ. 1958 โดยจำนวนการจำหน่ายได้สูงขึ้นในปี ค.ศ. 1959 เป็นจำนวน 643 ตัว และในปี ค.ศ. 1960 ได้ลดจำนวนลงเหลือ 635 ตัว

มรดก "ร่วม" กีต้าร์ LES PAUL & SG

เพื่อแก้ปัญหาเรื่องยอดขายของกีต้าร์เลสพอล บริษัท Gibson ได้ตัดสินใจแยกทางกับกีต้าร์เลสพอลในปี 1960 ในมุมมองหนึ่ง กีต้าร์เลสพอลเป็นกีต้าร์ที่ล้ำยุคนำสมัยในเวลานั้น (ล้ำหน้าไปเป็นเวลา 6 ปี) แต่ในอีกมุมมอง กีต้าร์เลสพอลมีรูปลักษณ์ที่โบราณเกินไป ด้วยกีต้าร์ลำตัวตันที่ทำจากไม้มะฮอกกานีปะหน้าด้วยความงดงามจากไม้เมเปิ้ลที่มีความโค้งมน การเข้าขอบ (binding) ทางด้านหน้าของลำตัวกีต้าร์ และคุณลักษณะอื่นๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นจากงานฝีมือของ Gibson นอกจากนี้กีต้าร์เลสพอลยังถูกสรรค์สร้างขึ้นด้วยความปราณีต ท่ามกลางคู่แข่งที่ผลิตกีต้าร์ที่มีผิวหน้าของลำตัวกีต้าร์ที่ราบเรียบขาดความโค้งมน  

​​เป็นที่ชัดเจนว่าบริษัท Gibson ต้องใช้กลยุทธที่ว่า “ยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว” การปรับเปลี่ยนโฉมของกีต้าร์ Les Paul Standard ให้เป็นกีต้าร์ที่ยังคงให้เสียงที่ดีเยี่ยมและให้ความรู้สึกที่เยี่ยมยอดในการเล่น แต่ว่าต้องมีการผลิตที่ง่ายกว่าและต้นทุนต่ำกว่า โดยการคำนึงถึงแนวโน้มและความคาดหวังของมือกีต้าร์ในยุคเวลานั้น

มรดก "ร่วม" กีต้าร์ LES PAUL & SG

และ... การปรากฏตัวของกีต้าร์ 2 รุ่น
กีต้าร์รุ่นใหม่ในปี ค.ศ. 1961 เริ่มต้นด้วยกีต้าร์ที่ทันสมัย ลำตัวกีต้าร์ที่มีรอยเว้าแบบ 2 เขา กีต้าร์ลำตัวตันที่ทำจากไม้มะฮอกกานีล้วนๆ กับความปราณีตจากรอยเว้าที่ไม่สมมาตรทั้ง 2 เขา ทำให้กีต้าร์รุ่นนี้เป็นกีต้าร์ที่มีเสน่ห์และมีความดึงดูด ลำตัวกีต้าร์ที่เรียวบางลง ส่งผลให้น้ำหนักเบาลงด้วย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกันกับกีต้าร์เลสพอลในแบบเขาเดียวที่มีความหนากว่า อีกคุณลักษณะหนึ่งที่สำคัญคือ สีแดงเชอรี่ (Cherry red) ที่สดใส ส่วนกีต้าร์อีกรุ่นหนึ่งมาในสีขาวอาร์คติก (Arctic White) ที่หรูหรา ซึ่งยังคงไว้ซึ่งการเข้าขอบแบบหลายชั้นและฮาร์ดแวร์สีทอง

​กีต้าร์รุ่นใหม่นี้ยังคงใช้ชื่อ Les Paul standard ในแคตตาล็อกของ Gibson ส่วนกีต้าร์ที่หรูหรากว่าอีกรุ่นหนึ่งใช้ชื่อว่า Les Paul Custom หลังจากปี ค.ศ. 1963 ข้อตกลงในการสนับสนุน (endorsement) ของกีต้าร์เลสพอลได้หยุดลงชั่วคราว กีต้าร์รุ่นนี้จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น SG Standard ชื่อที่เราคุ้นเคยกับกีต้าร์แบบ 2 เขาตั้งแต่ ณ เวลานั้นเป็นต้นมา โดยในยุคแรกๆ ของกีต้าร์ทรง SG ผู้เล่นนิยมเรียกกันในชื่อว่า “Les Paul/SGs” ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเริ่มปรากฏผลไปในทางที่ดี กีต้าร์รูปทรงใหม่ได้จุดประกายความสนใจของผู้เล่นในวงกว้างขึ้นเป็นอย่างมาก บริษัท Gibson ได้จำหน่ายกีต้าร์รุ่นใหม่นี้เป็นจำนวน 1,662 ตัวในปีแรกของการเปิดตัว ถือได้ว่าเป็นสามเท่าของจำนวนกีต้าร์ Les Paul Standard ที่จำหน่ายในปี ค.ศ. 1960 ในขณะที่กีต้าร์ Les Paul Custom สีขาวที่มีปิ๊กอัพ 3 ตัว มียอดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นเช่นกันเป็นจำนวน 513 ตัว ในปี ค.ศ. 1961

มรดก "ร่วม" กีต้าร์ LES PAUL & SG

ส่วนผสมร่วมกัน
นอกจากรูปทรงใหม่แล้ว กีต้าร์เลสพอลรุ่นใหม่ที่มี 2 เขานี้ยังคงมีฮาร์ดแวร์และภาคไฟฟ้าเหมือนกันกับกีต้าร์รุ่นแรกที่มีเขาเดียว มีลูกบิดกีต้าร์ Kluson, สะพานสายแบบ Tune-o-matic, ปิ๊กอัพฮัมบัคเกอร์ 2 ตัว ซึ่งในขณะนั้นยังคงเป็นปิ๊กอัพ PAF เหมือนกันกับที่ใส่อยู่ในกีต้าร์เลสพอลแบบเขาเดียวที่ผลิตในปี ค.ศ.1960, คอกีต้าร์ยังคงเป็นคอเดียวกัน, สเกลความยาวที่มีความยาวเท่ากัน 24.75 นิ้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เล่นกีต้าร์ Gibson คุ้นเคยกันดี จากคุณสมบัติของปิ๊กอัพ ฮาร์ดแวร์ และสเกลความยาว คุณสมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เมื่อคำนึงถึงต่อผลกระทบของสำเนียงและคุณภาพของเสียงกีต้าร์ 

​หนึ่งตัวอย่างของความแตกต่างกันของกีต้าร์รุ่นใหม่มาจากการเปรียเทียบกันระหว่าง Les Paul Standard และ Les Paul Custom ซึ่งมาจากความแตกต่างกันของฮาร์ดแวร์ชิ้นหนึ่ง นั่นคือ “Deluxe Vibrato” ซึ่งส่วนมากจะรู้จักกันในชื่อ “sideways vibrola” ชื่อที่ได้มาจากวิธีการทำงานของฮาร์ดแวร์ชิ้นนี้ ฮาร์ดแวร์ที่ไม่เป็นที่รักไคร่ของแฟนๆ Gibson เท่าไหร่นัก เนื่องจากความเกรงกลัวที่ว่าฮาร์ดแวร์ชิ้นนี้จะทำให้เสียงกีต้าร์เกิดความผิดเพี้ยนเมื่อใช้งานมากจนเกินไป กีต้าร์ Les Paul/SGs รุ่นแรกๆ จำนวนมากได้ถูกสั่งทำขึ้นเป็นพิเศษ โดยมาพร้อมกับ stopbar tailpieces (หรือถูกเปลี่ยนเป็น stopbar tailpieces ด้วยเช่นกัน) เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความไม่เสถียรของคันโยก (vibrato) เมื่อชื่อ Les Paul ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น SG ฮาร์ดแวร์ “Deluxe Vibrato” ก็ได้จางหายไปจากกีต้าร์ Gibson ฮาร์ดแวร์ tailpiece ที่มือกีต้าร์ชื่นขอบมากกว่านี้ได้กลายมาเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับกีต้าร์ SG 

มรดก "ร่วม" กีต้าร์ LES PAUL & SG

เรื่องราวของเสียง: SG VS Les Paul
​เมื่อถูกวางเคียงข้างและเปรียบเทียบกัน นอกจากรูปทรงของกีต้าร์แล้ว กีต้าร์ทรง Les Paul และ SG จะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย โดยภาพรวมแล้วความแตกต่างของกีต้าร์ทั้ง 2 ทรงจะมาจากความหนาและการจัดวางองค์ประกอบของไม้ แล้วทำไมกีต้าร์ทั้งสองทรงจึงแตกต่างกัน?

​คำตอบของคำถามอยู่ที่การคำนึงถึงความสำคัญของลำตัวกีต้าร์ที่ทำจากไม้มะฮอกกานีล้วนๆ และลำตัวกีต้าร์ที่มีความบางกว่า กีต้าร์เลสพอลที่มีรอยเว้าแบบเขาเดียวโด่งดังในเรื่องเสียงที่มีความหนา ความอุ่น และมีความเต็มอิ่ม ความถี่ของเสียงในย่านกลางต่ำ (lower-midrange) ที่ชัดเจน และความคมชัดของเสียงในภาพรวม นอกจากนี้ยังให้โทนเสียงโซโล่ (lead tone) ที่ชัดเจน เมื่อถูกปลดปล่อยออกมาจากการเพิ่ม gain จากตู้แอมป์กีต้าร์หรือเอฟเฟคโอเวอร์ไดรฟ์ซักตัว ​

​ในขณะที่เมื่อเราคิดถึงกีต้าร์ที่ผลิตจากไม้มะฮอกกานีเพียงอย่างเดียว (all-mahogany) ที่มีลำตัวกีต้าร์หนากกว่า จะให้เสียงที่อุ่นกว่า (warmer) และดาร์คกว่า (Darker) เมื่อเปรียบเทียบกับกีต้าร์ที่มีโครงสร้างเป็นไม้มะฮอกกานีและไม้เมเปิ้ลผสมผสานกันอย่างในกีต้าร์รุ่น Les Paul Standard กีต้าร์ SG ที่มีลำตัวกีต้าร์บางกว่าและช่วงต่อคอที่สูงกว่าจะให้เสียงที่พุ่งกว่า (snappier) เสียงที่มีความแหลมและแผด (Chime) มากกว่าเล็กน้อย กีต้าร์ทรง SG ยังคงมีความอุ่นและความลึกของเสียงที่ดี แต่เสียงในย่านกลางต่ำ (lower-midrange) จะลดลง ทดแทนด้วยเสียงในย่านกลางสูง (upper-midrange) ที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อใช้กับเสียง gain เสียงกีต้าร์ยังคงชัดเจน แต่ว่าจะมีความพุ่ง (bite) ของเสียงมากกว่า ในขณะที่กีต้าร์เสสพอล เสียงจะออกไปทางที่มีความ “หนา” มากกว่า

มรดก "ร่วม" กีต้าร์ LES PAUL & SG

กีต้าร์ฉันพี่น้อง​
จากที่กล่าวมาข้างตัน มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เหมือนกันระหว่างกีต้าร์ Les Paul Standard และ SG Standard ในทางปฏิบัติ กีต้าร์ทั้งสองทรงสามารถทดแทนกันได้ การเล่นของคุณประมาณ 78.35% จะไม่มีใครสามารถแยกแยะเสียงของกีต้าร์ออกได้ (สมมุติว่าคุณอยู่ในห้องทดลอง ได้ยินแต่เสียงกีต้าร์และไม่เห็นตัวกีต้าร์) ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเสียงแบบบดขยี้หรือแบบพาวเวอร์คอร์ด เสียงคลีนหรือเสียงแตกจากปิ๊กอัพฮัมบัคเกอร์ คุณสามารถทดสอบได้ด้วยตัวคุณเอง 

​​สรุปได้ว่า กีต้าร์ทรงเลสพอลและเอสจีแบ่งปันจิตวิญญาณและจิตใจเดียวกัน เมื่อคุณต้องการเสียงที่ทุ้มต่ำลงในย่านกลางต่ำหรือหางเสียง (sustain) ที่ยาวขึ้น ลองใชกีต้าร์เลสพอล ในทางกลับกัน เมื่อคุณต้องการเสียงโซโล่ที่พุ่งหรือเสียงที่มีความแหลมและแผดมากขึ้น ลองใช้กีต้าร์ SG อย่างไรก็ตาม ไม่มีความจำเป็นที่คุณจะต้องใช้ความรู้สึกหรือสุนทรียศาสตร์ในการตัดสินใจ เพราะยังไงคุณก็ต้องการกีต้ารทั้ง 2 ทรงไว้ในครอบครองอยู่ดี !